กศน.ตำบลวัดเพลง

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลวัดเพลง 1

ประวัติตำบลวัดเพลง

ประวัติตำบลวัดเพลงได้เล่าต่อ ๆ กันมาว่า มีพระแล่นเรือใบมาจมอยู่ในบ้านเวียงทุน และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้น และได้ล่องเรือเล่นเพลงกันยามน้ำนองเต็มแม่น้ำ พวกหนึ่งได้มาสร้างวัดขึ้น และให้ชื่อว่า "วัดเพลง" และได้ตั้งหมู่บ้านให้ชื่อว่า "บ้านเพลง" ต่อมาได้ตั้งเป็นตำบลเลยเรียกชื่อตามกันมาจนทุกวันนี้ ตำบลวัดเพลงอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอวัดเพลง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 10 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขตในส่วนของเทศบาล 2 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านศรีสมรัตน์

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ยังเอาแน่นอนไม่ได้ แต่เท่าที่สอบถามคนเก่าๆดูต่างก็ให้เหตุผลต่างกันคือ บ้างก็ว่าตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อคลองมหาดไทย คือ ศรีสมรัตน์มหาดไทย บางคนก็ว่านี่น่าจะเป็นนามสกุลของคนรุ่นเก่า ซึ่งเป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้านนั้น

หมู่ที่ 2 บ้านคลองมหาดไทย

เป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากบ้านศรีสมรัตน์ ราษฎรมีอาชีพทำอิฐมอญต่อมาเลิกทำอาชีพนี้ก็มาประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว มะม่วง ยกร่องทำสวนกันเรื่อยมา แต่ตั้งชื่อหมู่บ้านให้สอดคล้องกับชื่อคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ว่าคลองมหาดไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หมู่ที่ 3 บ้านคลองฝรั่ง

แยกมาจากตำบลคลองขนอน มีบาทหลวงเข้ามาตั้งศาสนาคริสต์ มาจับจองที่ดินทำกินและสร้างวัดขึ้น ราษฎรในถิ่นนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ มีอาชีพทำสวนมะพร้าวและตั้งชื่อตามคลองและบาทหลวงที่มาจัดตั้ง เพราะคนไทยจะเรียกคนต่างประเทศว่า " ฝรั่ง " เสมอ

หมู่ที่ 4 บ้านวัดฝรั่ง

มีบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ซื้อที่ดินทำกินให้ราษฎรเช่าสำหรับราษฎรที่นับถือศาสนาคริสต์ และสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อให้ราษฎรประกอบกิจกรรมทางศาสนาได้สะดวก ซึ่งแยกมาจากหมู่ 3 จึงได้ตั้งหมู่บ้านวัดฝรั่ง ตามชื่อวัดและคลองจนถึงปัจจุบันนี้

หมู่ที่ 5 บ้านวัดเพลง

ท่านผู้เฒ่าบางคนเล่าให้ฟังว่าในสมัยโบราณประชาชนในแถบนี้มักมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักพอถึงฤดูฝน น้ำจะหลากมาจากกาญจนบุรีซึ่งเป็นต้นน้ำมาจากแม่น้ำแม่กลอง ในสมัยนั้นไม่มีเขื่อนสำหรับกักเก็บน้ำ ฝนตกมากเท่าไรน้ำก็จะไหลบ่ามามากเท่านั้น ชาวบ้านจะเรียกว่า "น้ำเหนือ" ในประมาณ

2

เดือน 12 ของทุกปี ดังนั้นชาวบ้านที่ว่างจากการทำนาก็จะมีการพายเรือร้องเพลงเกี้ยวกันระหว่างหญิงสาว ชายหนุ่ม หรือบุคคลที่รักสนุก ในเทศกาลต่างๆเช่น เพลงเรือ ดังปรากฏว่ายังมีแม่เพลงเรือเหลืออยู่บ้างในปัจจุบันนี้ นอกนั้นต่างเสียชีวิตกันหมดแล้ว สำหรับบ้านวัดเพลงนี้แยกมาจากคลองขนอน จึงจัดตั้งชื่อหมู่บ้านให้สอดคล้องกับชื่อวัด เมื่อปี พ.ศ.2444

หมู่ที่ 6 บ้านบึงท่าใหญ่

เดิมเป็นหมู่บ้านอยู่หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลคลองขนอน มารวมกันใหม่จัดตั้งเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ปัจจุบันนี้หมู่บ้านนี้มีบึงที่กว้างใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านบึงท่าใหญ่"

หมู่ที่ 7 บ้านละว้า

เดิมชื่อหมู่บ้านคลองขนอน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นละว้า ราษฎรประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก และเริ่มจะเปลี่ยนเป็นทำสวนมะพร้าว เป็นหมู่บ้านเดิมไม่ได้แยกมาจากหมู่บ้านใด

หมู่ที่ 8 บ้านบางนางสูญ

มีตำนานเล่าขานกันมาว่ามีสาวสวยนางหนึ่งจากตำบลวัดยางงาม พ่อแม่ร่ำรวยมีชายหนุ่มมาชอบกันมากแม้แต่ผู้ที่พบเห็น พ่อแม่ต่างดีใจที่มีลูกสาวสวย สาวนางนี้ชื่อว่า "งาม" มีชายหนุ่มมาสู่ขอพ่อแม่ก็ไม่ยอมให้ อยากจะให้อยู่กับตนจนแก่เฒ่า อยู่มาวันหนึ่งเวลาประมาณ 04.00 น. ในคืนนั้นสาวนอนไม่หลับ สาวจึงเดินทางออกจากบ้านไปทางทิศเหนือ เดินเล่นเพลินๆเรื่อยๆไป รุ่งเช้าพ่อแม่ไปปลุกให้หุงข้าวก็ไม่พบ แต่มีผู้พบว่านางเดินทางไปในดงตะเคียนซึ่งขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ ค้นหาเท่าไหร่ก็ไม่พบร่องรอยแต่อย่างใดเลย ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อตามนางที่หายไปว่า "บ้านบางนางสูญ"

หมู่ที่ 9 บ้านเพลง

เป็นหมู่บ้านดั้งเดิม ราษฎรเล่นเพลงพื้นบ้านกันเป็นประจำ โดยมีพ่อเพลงแม่เพลงหลายคน เป็นบ้านหมู่ใหญ่ราษฎรอาศัยกันหลายช่วงอายุคน ต่อมาเพลงพื้นบ้านเหล่านี้ค่อยๆหายไป เพราะไม่มีใครรับเอาไว้ เลยเหลือไว้แต่ชื่อเป็นอนุสรณ์ดั้งเดิมไว้เท่านั้น เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

หมู่ที่ 10 บ้านไร่ลึก

หมู่บ้านนี้ในสมัยก่อนเป็นทุ่งกว้าง ถนนไม่มีผ่าน ต้องเดินไปในหมู่บ้านด้วยเท้าการคมนาคมไม่สะดวก ไกลมาก เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "ไร่ลึก" ปัจจุบันหมู่บ้านนี้อยู่สุดเขตของตำบลวัดเพลง

3

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลวัดเพลงอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอวัดเพลง เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน แห่ง ในเขตอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากอำเภอวัดเพลงประมาณ 1 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

เนื้อที่

ตำบลวัดเพลง มีเนื้อที่ประมาณ 11 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6, 875 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของตำบลวัดเพลง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองธรรมชาติหลายสาย ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี สภาพดินเป็นดินเหนียว พื้นที่จึงมีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมการทำนา ทำสวน โดยการยกร่องปลูกพืชช่วยระบายน้ำของดิน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

การประกอบอาชีพ

ราษฎรในเขตตำบลวัดเพลง มีประชากรประกอบอาชีพต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้

­- อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา การทำสวนผัก การปลูกไม้ยืนต้น

- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงวัว เลี้ยงปลาสวยงาม เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่

- อาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ ศิลปะประดิษฐ์ต่างๆ

- อาชีพค้าขาย ได้แก่ ขายของชำ

- อาชีพรับจ้าง ได้แก่ รับจ้างทำงานการเกษตร และรับจ้างทั่วไป

ด้านการศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง คือ

- โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง

- โรงเรียนวัดศรัทธาราษฎร์

- โรงเรียนจรูญศรีวิทยาประชานุกูล

โรงเรียนประถมเอกชน จำนวน 1 แห่ง คือ

- โรงเรียนเรืองวิทย์พระหฤทัย

โรงเรียนมัธยมสายสามัญประจำอำเภอวัดเพลง จำนวน 1 แห่ง คือ

- โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์

ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง (กศน.ตำบลวัดเพลง)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวัดเพลง

สถาบันและองค์การทางศาสนา

วัด จำนวน 3 แห่ง

1. วัดคลองขนอน หมู่ที่ 8 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

2. วัดศรัทธาราษฎร์ หมูที่ 7 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

3. วัดเพลง หมู่ที่ 5 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

สาธารณสุข

โรงพยาบาลประจำอำเภอวัดเพลง จำนวน 1 แห่ง

อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ป้อมตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง

สถานีตำรวจภูธรอำเภอวัดเพลง จำนวน 1 แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติ

1. ลำคลอง จำนวน 9 สาย คือ คลองบางนางสูญ , คลองแสวงจันทร์รำลึก, คลองเหมือง ตายัง , คลองรางจะเกร็ง , คลองตาเต้า , คลองตอนตาสน, คลองไร่ลึก, คลองตาเผือก

กลุ่มองค์กร

มวลชนที่จัดตั้งขึ้น

1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 1 กลุ่ม

2. กลุ่มอาชีพ จำนวน 5 กลุ่ม

ข้อมูลแหล่งเรียนรู้

ประวัติศาสตร์ศาลเจ้าพ่อหลักหินเป็นที่สักการะของชาวตำบลวัดเพลงประดิษฐานอยู่ที่ว่าการอำเภอวัดเพลง / โบสถ์วัดคริสต์พระหฤทัย 100 ปี

ประชากร

ตำบลวัดเพลงมีประชากรรวมทั้งสิ้น 4,631 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 272 คน /ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

จำนวน

ครัวเรือน

ชื่อผู้นำ

(ผู้ใหญ่บ้าน)

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านศรีสมรัตน์

74

97

171

56

นายบุญล้อม สู้เสงี่ยม

2

บ้านมหาดไทย

108

130

238

24

นายศักดิ์ดา เฟื่องฟู

3

บ้านคลองฝรั่ง

79

90

169

59

นายไพฑูรย์ แก้วเกียรติยศ

4

บ้านวัดฝรั่ง

41

43

84

24

นายสุทัศน์ ฤทธิ์มงคล

5

บ้านวัดเพลง

353

377

730

250

นายวีระโชติ วิเชียรโชติ

6

บ้านบึงท่าใหญ่

224

268

492

166

นายโชติรัตน์ เล้าศศิวัฒนพงษ์

7

บ้านละว้า

83

125

208

60

นายไพศาล โชคบรรดาลสุข

8

บ้านบางนางสูญ

176

185

661

105

นายเสมา แก้วหอม

9

บ้านเพลง

172

187

359

104

นายบรรพต หงษ์ศรี

10

บ้านไร่ลึก

162

173

335

146

นายสาท อินทะแพทย์

รวม

2,157

2,346

4,503

* ข้อมูลโดย องค์การบริหารส่วนตำบลวัดเพลง (พ.ศ. 2558)

ข้อมูลภูมิปัญญา

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน

ที่อยู่

เบอร์โทรศัพท์

1.

นายเสงี่ยม เพชรเลิศ

มีความชำนาญเรื่อง

หมอตำแย

47 ม.6

ตำบลวัดเพลง

2.

นายไพรัช บุญอินทร์

มีความชำนาญเรื่อง

การดูดวงชะตา

75 ม 6ตำบลวัดเพลง

3.

นางวิไลรัตน์ วรรณวิไลย

มีความชำนาญเรื่อง

ด้านการถักเปลโบราณ

48 ม.5 ตำบลวัดเพลง

4.

นายสมจิตต์ ทองสามสี

มีความชำนาญเรื่อง

การขยายพันธุ์ผลไม้

37 /1 ม.8ตำบลวัดเพลง

5.

นายสมศักดิ์ แซ่โล้ว

มีความชำนาญเรื่อง

การผลิตมะม่วงนอกฤดูกาล

63 ม.8ตำบลวัดเพลง

6.

นายพินิจ บุญสู

มีความชำนาญเรื่อง

การทำขนมเปี๊ยะสูตรโบราณ

60 ม.4 ตำบลวัดเพลง

7.

นางซิวเกลียวลิขิตเสรีกุล

มีความชำนาญเรื่อง

การทำท๊อปฟี่สูตรโบราณ

46 ม.4ตำบลวัดเพลง

8.

น.ส.สุกาญจนา

ชาตะวะสุ

มีความชำนาญเรื่อง

การจัดทำบัญชี/ การจัดทำกองทุนหมู่บ้าน

12 ม8

ตำบลวัดเพลง

9.

น.ส. สุภาพร

แก้วเลื่อนมา

มีความชำนาญเรื่อง

การบรรจุภัณฑ์

11 ม 8

ตำบลวัดเพลง

-

10.

นายเก็บ เติมต่อ

มีความชำนาญเรื่อง

การทำขวัญข้าว

5 / 1ม8ตำบลวัดเพลง

-

11.

นายสาธิต แก้วเลื่อนมา

มีความชำนาญเรื่อง

หมอดิน/การทำปุ๋ยชีวภาพ

11 ม 8 ตำบลวัดเพลง

12.

นายเส็ง ทองสามสี

มีความชำนาญเรื่อง

การต้มยารักษาโรคแผนโบราณ

ม 8ตำบลวัดเพลง

13.

นายศุภโชค

ศรีสวัสดิ์ธารา

มีความชำนาญเรื่อง

การทำไม้กวาดด้าม

ม 6 ตำบลวัดเพลง

14.

นางฉลวย ประภัสสิริ

มีความชำนาญเรื่อง

กลุ่มทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต

46 ม 8ตำบลวัด

-

* ข้อมูลสำรวจเมื่อ 30 สิงหาคม 2558 โดยนายปรมินทร์ มั่นหมาย

กิจกรรมที่จัดในสถานศึกษา

1. การจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. การศึกษาต่อเนื่อง

3. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน

4. การจัดกกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. การศึกษาตามอัธยาศัย

อื่น ๆ สิ่งเด่นประจำตำบลวัดเพลง

* สถานที่ท่องเที่ยว คือ วัดเพลง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ทางด้านวัตถุโบราณ โดยเฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คือหลวงพ่อหลักหิน เป็นที่แกะสลักจากหินศิลาแลง ซึ่งมีตำนานความเชื่อที่เก่าแก่มาก คนในตำบลวัดเพลงให้ความเคารพศรัทธาบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

* ประเพณี วัฒนธรรม ที่สำคัญในตำบลวัดเพลง คือประเพณีสงกรานต์และประเพณีแห่เทียนนำนำพรรษาก่อนเข้าพรรษา

8

งานสงกรานต์

ทุกๆปีในวันสงกรานต์จะมีการประกวดรถริ้วขบวนแห่นางสงกรานต์ ไปรวมกันที่วัดศรัทธาราษฎร์ ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน จะเป็นวันที่ชาวบ้านมาช่วยกันหาดอกไม้ประดับตกแต่งรถขบวนแห่ และทำอาหารคาว-หวานเลี้ยง และวันที่ 13 หาเด็กผู้หญิง 4 คนเพื่อเตรียมแต่งเป็นนางสนม จากนั้นให้สาวงามของหมู่บ้านเพื่อเป็นนางสงกรานต์ สุดท้ายหาชายหนุ่ม จำนวน 1 คน เพื่อเป็นพี่เลี้ยงคอยถือร่ม ให้นางสงกรานต์ บนรถยนต์ขณะแห่ และจะเริ่มแห่จากองค์การบริหารส่วนตำบลวัดเพลง เรื่อยไปจนถึงวัดศรัทธาราษฎร์ และจะมีการมอบของรางวัลให้แต่ละหมู่บ้าน เป็นอันเสร็จพิธี

งานแห่เทียนเข้าพรรษา

ให้แต่ละหมู่บ้านของตำบลวัดเพลงจะมีการจัดกิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนมาถวายพระภิกษุสงฆ์พร้อมกันที่วัดศรัทธาราษฎร์,วัดเพลง,และวัดคลองขนอนในวันแรม1 ค่ำ เดือน 8ของทุกปีเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

ส่วนที่ 2 วิสัยทัศน์ พันธกิจและแนวทางการพัฒนาของ กศน.ตำบลวัดเพลง

ปรัชญาสถานศึกษา คิ ด เ ป็ น บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์ (vision)

กศน.ตำบลวัดเพลงเป็นหน่วยในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (MISSION)

1. ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ใน รูปแบบที่

เหมาะสมตามสภาพและความต้องการ

2. พัฒนาระบบบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3. ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย เพื่อชดเชยโอกาสทางการศึกษา

4. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณธรรมและทักษะการดำเนินชีวิตบน

พื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน

9

ประเด็นยุทธศาสตร์ (STRATEGIC ISSUES)

การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าประสงค์ (GOALS)

1. บุคลากรเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่าง

มีประสิทธิภาพ

2. ภาคีเครือข่าย และบุคลากรในหน่วยงานทำงานเป็นระบบและทิศทางเดียวกัน ในการพัฒนา

ผู้เรียน ผู้รับบริการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสในการศึกษาหาความรู้ตรงกับความต้องการของตนเอง ทำ

ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสเรียนรู้และดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง

5. บุคลากรทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ พัฒนาการทำงานที่เป็นระบบตามมาตรฐาน

การศึกษา

กลยุทธ์ (STRATEGE)

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง

2. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย จัดการศึกษาโดยปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

3. พัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน

4. พัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

5. จัดการระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ

ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลวัดเพลง

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดราชบุรีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้พิจารณาและประกาศจัดตั้ง ให้มีศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2543 และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดราชบุรี มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายปรมินทร์ มั่นหมาย ทำหน้าที่เป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลง โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา

สถานที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลง เปิดทำการอยู่ข้างที่ทำการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอวัดเพลง หมู่ 5 บ้านวัดเพลง ตำบลวัดเพลง อำเภอัดเพลง จังหวัดราชบุรี แต่เดิมได้ใช้สถานที่จอดรถยนต์ของคณะครู (หลังเดิม) เป็นสถานที่พบกลุ่มจัดการเรียนการสอนสายสามัญและการศึกษาสายอาชีพ เนื่องจากมีประชาชนและนักศึกษาในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาได้มาใช้บริการมากขึ้น ทำให้อาคารสถานที่ที่จะใช้จัดกิจกรรมคับแคบ ไม่สะดวก

10

ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งไม่เป็นเอกเทศ ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาและผู้อำนวยการศูนย์กศน. อำเภอวัดเพลง ได้มีแนวคิดให้มาบูรณะอาคารสถานที่จอดรถเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลง จัดเป็นศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนและนักศึกษาในพื้นที่และตำบลใกล้เคียง และเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาลสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สภาพปัจจุบันของ กศน.ตำบลวัดเพลง

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านวัดเพลง ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวัดเพลงได้ย้ายมาอยู่ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอวัดเพลงซึ่งเป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอวัดเพลงด้านทิศเหนือ และทางสำนักงาน กศน.มีนโยบาย ยกฐานะศูนย์การเรียนชุมชน เป็น กศน. ตำบล ในปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชนในตำบลให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมีและมีคุณภาพ และ ได้ทำพิธีเปิด กศน. ตำบล วัดเพลงขึ้น ใน วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2553 โดย ส.ส. สามารถ พิริยะปัญญาพร มาเป็นประธานในการเปิด กศน. ตำบลในครั้งนี้ และมีนายปรมินทร์ มั่นหมาย ดำรงตำแหน่งหัวหน้า ครู กศน. ตำบลวัดเพลง มาถึงปัจจุบันนี้

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ